วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การจราจร


กฎจราจร 

การขับรถโดยปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
จากการใช้รถใช้ถนน เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของผู้ขับขี่ ตลอดจนผู้โดยสาร ผู้ร่วมเดินทางและผู้ใช้ถนนอื่นๆ 

ความหมายของคำที่ควรทราบ
1.การจราจร - การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือคนที่จูง ขี่หรือไล่ต้อน สัตว์ 
2. ทาง - ทางเดินรถ ช่องเดินรถประจำทางไหล่ทาง ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม
ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมาย ความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจร หรือเจ้าพนักงานจราจร
ได้ประกาศให้เป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่ไม่รวมไปถึงทางรถไฟ
3. เขตปลอดภัย - พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจน
ทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้น หรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป 
4. ที่คับขัน - ทางที่การจราจรพลุกพล่าน หรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือ
ทราบได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย
5. รถฉุกเฉิน - รถดับเพลิงและรถพยาบาลและรถพยาบาลของราชการ
บริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรถอื่นที่ 
ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือ
เสียงสัญญาณอื่นตามที่จะกำหนดให้ 
6. สัญญาณจราจร - สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธงไฟฟ้า มือ แขน เสียง
นกหวีด หรือวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูงขี่หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น
7. เครื่องหมายจราจร - เครื่องหมายใด ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏใน
ทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น
8. ขอบทาง - แนวริมของทางเดินรถ
9. ไหล่ทาง - พื้นที่ที่ต่อจากขอบทางออกไปทางด้านข้าง ซึ่งยังมิได้จัดทำเป็นทางเท้า
10. ทางเท้า - พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทาง 
หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดิน
11. ทางข้าม - พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทางโดยทำเครื่องหมาย 
เป็นเส้นหรือแนว หรือตอกหมุดไว้บนทาง และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่ทำให้คนเดินเท้า
ข้ามไม่ว่าในระดับใต้หรือเหนือพื้นดินด้วย

การเดินเท้าและการขี่รถจักรยาน

การเดินเท้า 
1.ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดิน ให้คนเดินเท้า เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน
2.ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตร นับจากทางข้าม ห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางนอกทางข้าม
3.ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใด ๆ ในลักษณะที่เป็น การกีดขวางการจราจร เว้นแต่
(1) เป็นแถวทหารหรือตำรวจ ที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน
(2) แถวหรือขบวนแห่หรือขบวนใด ๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
4.ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ บนทางเท้าหรือทางใด ๆ ซึ่งจัดไว้สำหรับคนเดินเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร
5.ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ ขาย แจกจ่าย หรือเรี่ยไรในการเดินรถหรือออกไปกลางทางโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเป็นการกีดขวางการจราจร

การขี่จักรยาน
1. ทางใดจัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับในทางนั้น
2. ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้องขับขี่รถจักยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น 

การใช้สัญญาณไฟหรือสัญญาณของรถ
1. ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างในกรณีที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางโดยชัดเจน ในระยะ 150 เมตร โดยผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าและไฟท้ายรถ 
2. การใช้สัญญาณเสียงแตรสำหรับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต้องได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร และใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น
3. ห้ามใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตก พร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควรในทางเดินรถ
4. รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ในขณะที่แสงสว่างไม่เพียงพอต้องจุดไฟ สัญญาณแสงแดง หรือในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดง ไว้ที่ตอนปลายสุดของสิ่งที่บรรทุก ซึ่งสามารถมองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร 
5. กรณีบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ในเวลากลางวัน ผู้ขับขี่ต้องติดธงลักษณะ สี่เหลี่ยมผืนผ้าแดงขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 45 ซม. และในเวลากลางคืน ผู้ขับขี่ต้องติดไฟสัญญาณแสงสีแดงเห็นได้ชัดในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ไว้ที่ปลายสุดของที่บรรทุก 


การบรรทุก
1.ความกว้าง บรรทุกได้ไม่เกินความกว้างของรถ
2.ความยาว สำหรับรถยนต์ ด้านหน้าต้องบรรทุกไม่เกินหน้าหม้อรถ ด้านหลังพ้นตัวรถหรือกัน ชนด้านท้ายไม่เกิน 2.50 เมตร
3.ความสูง รถที่มีความกว้างไม่เกิน 2.30 เมตร บรรทุกสูงได้ไม่เกิน 3.00 เมตรรถที่มีความกว้างเกิน 2.30 เมตร บรรทุกสูงไม่เกิน 3.80 เมตร รถตู้บรรทุกสูงไม่เกิน 4.00 เมตร โดยวัดจากพื้นทาง
4.ผู้ขับขี่ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุก ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรก เปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน 

สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร


ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ หรือทำให้ปรากฏในทางหรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ

1. สัญญาณจราจร มี 3 ชนิด

1 สัญญาณไฟจราจร หมายถึงสัญญาณจราจรที่ใช้ควบคุมการจราจร โดยโคมสัญญาณไฟจราจรประกอบด้วยดวงโคมอย่างน้อย 3 ดวง มีสีแดง สีเหลืองอำพัน สีเขียว บางกรณีก็มีรูปลูกศร หรือกากบาท หรือข้อความ เช่น 
- สัญญาณไฟจราจรสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เว้นแต่จะได้ขับเลยเส้นให้รถหยุดไปแล้ว ก็ให้ขับเลยไปได้
- สัญญาณไฟจราจรสีแดง หรือ เครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า "หยุด" ให้ผู้ขับขี่ หยุดรถหลังเส้นให้หยุด
- สัญญาณไฟจราจรสีเขียวหรือเครื่องหมายจราจรที่มีคำว่า "ไป" ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ 
- สัญญาณไฟจราจรสีเขียว ชี้ให้เลี้ยว หรือชี้ให้ตรงไปให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับรถตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้ และต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง ให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามหรือรถที่มีมาทางขวาก่อน
- สัญญาณไฟจราจรกะพริบสีแดง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้หยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
- สัญญาณไฟจราจรกะพริบสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
การขับรถตรงไป หรือเลี้ยวรถ จะต้องอยู่ในช่องเดินรถให้ถูกต้อง ตั้งแต่เริ่มมีเครื่องหมายให้ปฏิบัติเช่นนั้น
- สัญญาณไฟจราจรสีแดงที่ทำให้เป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถใดห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถในช่องเดินรถนั้น
- สัญญาณไฟจราจรสีเขียว ที่ทำให้เป็นลูกศรอยู่เหนือช่องเดินรถใด ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในช่องเดินรถนั้นขับผ่านไปได้

2 สัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏ
- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังต้องหยุดรถหากลดแขนข้างที่เหยียดลงและโบกมือไปข้างหน้าจึงจะขับรถไปได้
- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ยืน และเหยียดแขนข้างหนึ่งข้างใดออกไปเสมอระดับไหล่ และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้น ต้องหยุดรถ และถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น แล้วโบกผ่านศีรษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้น ขับรถผ่านไปได้ 
- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ยืน และเหยียดแขนทั้ง 2 ข้าง ออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ ทั้ง 2 ด้านนั้นจะต้องหยุดรถ
- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น โบกไปทางด้านหลังให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ขับรถผ่านไปได้
- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืนและยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาด้านหน้าและด้านหลังต้องหยุดรถ
การหยุดรถให้หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด ในกรณีที่ทางเดินรถใดไม่มีเส้นให้รถหยุดให้ผู้ขับขี่หยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร 

3เสียงนกหวีด
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาว 1 ครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที แต่ถ้าใช้เสียงสั้น 2 ครั้งติดต่อกัน ให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้
อย่างไรก็ตาม สัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจร ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ในทางเดินรถนั้น เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัย หรือความสะดวก ในการจราจรจะให้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นก็ได้ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติการเดินรถตามสัญญาณที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ 

2.เครื่องหมายการจราจร 
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 

1 ชนิดแผ่นป้ายทำด้วยโลหะหรือไม้ หรือวัตถุอื่นที่แทนกันได้ มี 2 ประเภทคือ 
- ประเภท บังคับ ซึ่งเป็นเครื่องหมายกำหนด บังคับ ห้าม หรือจำกัดบางประการเพื่อบังคับการจราจรในทาง
- ประเภท เตือน ซึ่งเป็นเครื่องหมายเตือนให้ผู้ใช้ทางระวังอันตรายตามความหมายในแผ่นเครื่องหมายนั้น ๆ 

2 บนผิวทาง ขอบทาง ขอบวงเวียน หลัก ราว สะพาน กำแพง รั่วและที่อื่น ๆ 
โดยใช้สี หมุดโลหะ กระเบื้องเคลือบ หรือวัตถุที่แทนกันได้ ทา ตอก หรือฝังไว้ 


การใช้ทางเดินรถ

1.การขับรถ


ผู้ขับขี่จะต้องระมัดระวังไม่ให้รถชน หรือโดนคนเดินเท้า ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของทางและต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก คนชรา หรือพิิการที่กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมรถของตน
ในการขับรถต้องขับไปทางด้านซ้ายของทางเดินรถและต้องไปล้ำกึ่งกลางของทาง เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้เดินทางขวา หรือล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
-ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
-ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
-ทางเดินรถนั้น กว้างไม่เกิน 6 เมตร 
ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถ ในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุดหรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทาง
เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินรถทางขวาของทางเดินรถได้
-ในช่องเดินรถนั้น มีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
-ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจร กำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
-เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
-เมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย
-สำหรับรถที่มีความเร็วช้า หรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสารรถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด หรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี

การขับรถสวนทางกัน
มีหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติ ดังนี้ 
1 ให้ขับรถชิดซ้าย โดยถือกึ่งกลางของทางเดินรถเป็นหลัก แต่ถ้าได้จัดแบ่งช่องเดินรถไว้ ให้ถือเส้นหรือแนวที่แบ่งนั้น เป็นหลัก
2. ในทางเดินรถที่แคบ เมื่อขับรถสวนทางกัน ให้ผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายลดความเร็วของรถ เพื่อให้รถสวนกันได้โดยปลอดภัย
3 สำหรับทางเดินรถที่แคบ ซึ่งไม่อาจขับรถสวนกันได้โดยปลอดภัย เมื่อขับรถสวนกัน ผู้ขับขี่ขับรถคันที่ใหญ่กว่าต้องหยุดรถชิดขอบทางเดินรถด้านซ้าย เพื่อผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่เล็กกว่าผ่านไป ได้
4 ทางเดินรถที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถหรือหยุดรถเพื่อให้รถคันที่สวนมาผ่านไปได้ 
5 ในทางเดินรถที่เครื่องหมายจราจรแบ่งทางเดินรถออกเป็น 2 ทางสำหรับรถเดินทางขึ้นทางหนึ่ง ทางล่องทางหนึ่ง โดยมี
-ช่องว่างคั่นกลาง 
-เครื่องหมายจราจรกีกกั้น แสดง 2 ทาง 
ให้ขับรถชิดซ้ายของทางเดินรถ
ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าในระยะที่พอควรจะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อมีความจำเป็นต้องหยุดรถ
และเมื่อจะขับรถขึ้นสะพาน หรือทางลาดชัน ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถถอยหลังไปโดยรถอื่น
ในการขับรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรให้เป็นทางเดินรถทางเดียว ให้ผู้ขับขี่รถไปตามทิศทางที่ได้กำหนดไว้ 

ข้อห้ามในการขับรถ
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถ ในกรณี ดังต่อไปนี้
-ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
-ในขณะเมาสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่น
-ในลักษณะกีดขวางการจราจร
-โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
-ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้า หรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
-คร่อมหรือทับเส้น หรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
-บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เว้นแต่ รถลากเข็น สำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
-โดยไม่คำนึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
-นอกจากนี้ ยังห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพ หรือรับเข้าร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท กลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทอย่างอื่น ๆ


2.การขับรถแซง และผ่านขึ้นหน้า
ผู้ขับขี่ซึ่งประสงค์จะขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอืื่นในทางเดินรถ ซึ่งไม่มีแบ่งช่องเดินรถไว้ ต้องให้สัญญาณดังนี้


1 สัญญาณกะพริบไฟหน้าหลายครั้ง
2 สัญญาณไฟยกเลี้ยวขวา
3.สัญญาณเสียงดังพอที่จะให้ผู้ขับขี่ ซึ่งขับรถคันหน้าได้ยิน


3.การขับรถผ่านทางร่วมทางแยก
เมื่อผู้ขับขี่ ขับรถมาถึงทางร่วม ทางแยก ให้ปฏิบัติดังนี้
-ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทาวร่วม ทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน
-ถ้ามาถึงทางร่วม ทางแยก พร้อมกัน และไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ในทางเอก มีสิทธิ์ขับผ่านไปก่อน
-ถ้าสัญญาณจราจรไฟสีเขียวปรากฏข้างหน้า แต่ในทางร่วมทางแยก มีรถอื่นหยุดขวางอยู่จนไม่สามารถผ่านพ้นทางร่วมทางแยกไปได้ ผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถที่หลังเส้นให้รถหยุดจนกว่าสามารถเคลื่อนรถผ่านพ้นทางร่วมทางแยกไปได้
ผู้ขับขี่ ซึ่งขับรถออกจากทางส่วนบุคคล หรือทางเดินรถในบริเวณอาคารเมื่อจะขับรถผ่านหรือเลี้ยวสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่าน ต้องหยุดเพื่อให้รถที่กำลังผ่านทาง หรือรถที่กำลังแล่นอยู่ในทางเดินรถผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้


4.การขับรถผ่านวงเวียน
ผู้ขับขี่ เมื่อขับรถมาถึงวงเวียนต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรดังนี้
-ถ้าไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ต้องให้สิทธิ์แก่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของคนขับผ่านไปก่อน
-หรือในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร จะให้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นเช่นนี้ ผู้ขับขี่ ต้องปฏิบัติตาม


5.การออกรถ การเลี้ยวรถ และการกลับรถ
การออกรถ
การขับรถออกจากที่จอด หากมีรถจอด หรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขน หรือสัญญาณไฟ และจะขับไปได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถอื่น


การเลี้ยว
การเลี้ยว ให้ปฏิบัติ ดังนี้

1 เลี้ยวซ้าย
- กรณีที่ไม่ได้แบ่งช่องเดินรถไว้ ให้ขับรถชิดทางเดินรถด้านซ้าย
- กรณีที่มีการแบ่งช่องเดินรถ และมีเครื่องหมายจราจร แสดงให้เลี้ยวซ้ายได้ ให้ขับรถในช่องเดินรถที่จะเลี้ยวซ้าย ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้รถคันอื่นมองเห็นได้ในระยะ 60 เมตร
- กรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางเดินรถด้านซ้ายสุดให้ผู้ขับขี่รถชิดช่องเดินรถประ จำทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะเลี้ยวผ่านเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้ เฉพาะในบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยวรถผ่านได้เท่านั้น

2 เลี้ยวขวา
- กรณีที่ทางเดินรถไม่ได้แบ่งช่องเดินรถไว้ให้ผู้ขับขี่ชิดทางด้านขวาของแนวกิ่งกลางของการเดินรถ ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- กรณีทางเดินรถที่ได้แบ่งช่องเดินรถไว้ในทิศทางเดียวกันตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ให้ขับรถชิดทางด้านขวาสุดของทางเดินรถ หรือในช่องที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้เลี้ยวขวาได้ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
- กรณีที่ช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านขวาสุดให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดช่องทางเดินรถประจำทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะเลี้ยวผ่านเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้เฉพาะบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยวรถผ่านได้เท่านั้น
- สำหรับทางเดินรถที่มีเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงสัญญาณจราจรด้วยมือและแขน ให้ผู้ขับขี่ขับรถเลี้ยวขวาไปได้โดยไม่ต้องอ้อมเจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
- เมื่ออยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ ต้องให้รถสวนทางมาในทางเดินรถทางเดียวกันผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้
ในการเลี้ยวขวา และเลี้ยวซ้าย ผู้ขับขี่ ต้องใช้ความระมัดระวัง และต้องหยุดให้ทางแก่ผู้ที่กำลังข้ามทาง และรถที่มีกำลังผ่านทางร่วมทางแยก จากทางด้านอื่นก่อนเว้นแต่ในกรณีที่มีรถเลี้ยวซ้าย และเลี้ยวขวา พร้อมกันให้รถเลี้ยวซ้ายให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อนให้รถทางขวาผ่านไปก่อน
- ถ้าจะเลี้ยวอ้อมวงเวียน หรือเกาะที่สร้างไว้ให้ผู้ขับขีี่ขับรถอ้อมไปทางซ้ายของวงเวียนหรือเกาะนั้น

ข้อห้ามในการเลี้ยวรถและกลับรถ
1 ที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือห้ามกลับรถ
2 ห้ามกลับรถในเขตปลอดภัย ที่คับขัน บนสะพาน หรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
3 ห้ามกลับรถที่ทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถในบริเวณนั้นได้
4 ในทางเดินรถที่สวนกันได้ ห้ามผู้ขับขี่กลับรถ หรือเลี้ยวรถ ทางขวาในเมื่อมีรถอื่นสวนหรือตามมา ในระยะน้อยกว่า 100 เมตร เว้นแต่เมื่อเห็นปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถอื่น

6.การหยุดรถและการจอดรถ
1. การหยุดรถ หรือการจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ให้สัญญาณด้วยมือและแขน หรือสัญญาณไฟก่อนหยุดรถ หรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร และเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร
2. การจอดรถให้จอดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ โดยให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 ซม. หรือจอดรถในทิศทางที่เจ้าพนักงานกำหนด หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางซ้ายสุดของทางเดินรถห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนดให้ใช้ช่องเดินรถประจำทางนั้น


กรณีที่เครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ของรถขัดข้อง
ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็วที่สุด ถ้ามีกรณีที่จำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
-จอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร
-ต้องแสดงเครื่องหมาย หรือสัญญาณ ดังนี้คือ
เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าติดด้วยแถบสะท้อนแสงพื้นสีขาวขอบแดง และมีรูปเหลี่ยมผืนผ้าสีดำ หัวท้ายมน อยู่บนพื้นสีขาวในแนวดิ่งพร้อมขาตั้ง
สำหรับสัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอำพัน หรือสีขาว ติดอยู่ที่หน้ารถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และไฟสัญญาณกะพริบสีแดง หรือสีเหลืองอำพัน ติดอยู่ที่ท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
ในเขตกรุงเทพฯเมืองพัทยา เทศบาล ให้แสดงเครื่อหมายรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าหรือจะใช้สัญญาณกะพริบก็ได้
แต่ถ้านอกเขตดังกล่าว ให้แสดงเครื่องหมายรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าหรือจะใช้สัญญาณไฟกะพริบก็ได้
แต่ถ้านอกเขตดังกล่าว ให้แสดงเครื่องหมายรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่ด้านหน้าและด้านหลังของรถ โดยให้ห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 150 เมตร
-การจอดรถในทางเดินรถ ที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถนั้น ผู้ขับขี่ ต้องหยุดเครื่องยนต์ และห้ามล้อรถนั้นไว้
-การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
-การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ผู้ขับขี่ต้องหยุดหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่ หรือขับรถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 ม.
-หากการจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดได้ชัดเจน ในระยะไม่น้อยกว่า 150 ม. ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่าง ตามประเภท ลักษณะ เงื่อนไข ดังนี้
‘ ใช้โคมไฟเล็ก โคมไฟท้าย และโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถในกรณีเป็นรถที่อยู่ในความควบคุมของกฎหมายขนส่ง และกฎหมายรถยนต์
‘ ใช้โคมไฟที่ติดไว้ด้านข้างของตัวรถ ในกรณีเป็นรถพ่วงรถจักรยานยนต์ หรือรถที่ลากเข็นด้วยกำลังคนหรือสัตว์หรืออย่างอื่น จะใช้โคมไฟนอกจากนี้กระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร
ห้ามหยุดรถในบริเวณ ต่อไปนี้
บนทางเท้า, บนสะพานหรือในอุโมงค์ , ในทางร่วมทางแยก,ในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามหยุดรถ,ในเขตปลอดภัย ,ปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ, กีดขวางการจราจร
ห้ามจอดรถในบริเวณ ต่อไปนี้
บนทางเท้า , บนสะพานหรือในอุโมงค์ ,ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร จากร่วมทางแยก,ในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด, ในทางข้าม หรือระยะ 3 เมตร จากทางข้าม, ระยะ 3 เมตร จากตู้ไปรษณีย์, ระยะ 15 เมตร จากทางรถไฟผ่าน, ระยะ 15 เมตร ก่อนถึงป้ายรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร ,ตรงปากทางเข้าออกอาคาร หรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ, ซ้อนคันกันกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว, ในที่คับขัน, กีดขวางการจราจร, ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง, ในระยะ 10 เมตร จากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร, ในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง


ข้อควรทราบ

1. เมื่อเห็นรถฉุกเฉิน คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ เมื่อเห็นรถฉุกเฉินขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยิน เสียงสัญญาณไซเรน ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) คนเดินเท้า ต้องหยุด และหลบให้ชิดขอบทาง หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
(2) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถ หรือจอดรถ ให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายหรือชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก และห้ามขับตามหลังรถตามหลังรถฉุกเฉินในระยะน้อยกว่า 50 เมตร
(3) ผู้ขี่ หรือควบคุมสัตว์ ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทางแต่ห้ามหยุดในทางร่วม ทางแยก
การปฏิบัติตาม (2) และ (3) ผู้ขับขี่ ผู้ขี่ หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
2. สายพ่วงที่ใช้ลากหรือจูงรถ ต้องมีความยาวจากส่วนท้ายสุดของรถที่ลากถึงส่วนหน้าสุดของรถคันที่ถูกลากไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร
3. กรณีรถที่ถูกลากไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือห้ามล้อให้ใช้วิธีการลากจูง โดยยกหน้าหรือท้ายรถติดกับรถลาก
4. ห้ามขับรถแข่งในทางเดินรถเว้นแต่จะได้รับอนุญาต
5. ห้ามขับรถผ่านหรือจอดรถในบริเวณที่มีการปฏิบัติการดับเพลิง
6. ห้ามผู้ขับรถยินยอมให้ผู้อื่นนั่งแถวหน้าตอนเดียวกับที่นั่งคนขับเกิน 2 คน
7. ห้ามขับรถเข้าเขตปลอดภัยเว้นแต่กรณีจำเป็นและได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
8. ขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถติดตัวไว้เสมอ
9.เมื่อผู้ขับขี่ได้รับใบลั่งของเจ้าหนักงานจะต้องไปรายงานตัวต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ภายใน 7 วัน และให้ถือใบสั่งเป็นใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราว ภายในระยะเวลาดังกล่าว
10. ในกรณีใบอนุญาตขับรถชำรุดหรือเสียหายต้องยื่นคำขอใบแทนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
11. การขอจดทะเบียนรถให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา
12. รถที่จดทะเบียนแล้ว หากมีการเปลี่ยนสีของรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลง
13.กรณีเจ้าของรถไม่เสียภาษีประจำปีในเวลาที่กำหนดจะต้องชำระเงินเพิ่มอีก 20 % ของอัตราภาษีที่ต้องชำระ
14.รถที่มีไว้ขายหรือซ่อม อนุญาตให้ขับได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึง
พระอาทิตย์ตก

ผลจากการฝ่าฝืนกฎจราจร
กฎจราจรเป็นกฎแห่งความปลอดภัย ถ้าผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ว่าจะเป็นคนเดินเท้า คนโดยสาร หรือผู้ขับรถ ปฏิบัติตามก็จะเป็นผลดีแก่ตนเองไม่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน หรือสูญเสียเวลาอันมีค่า อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอีกด้วย เพราะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางการจราจรซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ควรเพิ่มปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก แต่ถ้าหากมีการฝ่าฝืนกฎจราจรเกิดขึ้น ผู้ฝ่าฝืนก็จะได้รับผลกระทบจากการกระทำของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมายและสังคม
- ผลกระทบทางด้านกฎหมาย กฎหมาย ได้กำหนดมาตรการในการลงโทษผู้กระทำผิดแตกต่างกันไปตามความผิดที่กระทำซึ่งสรุปโดยรวมคือ
ปรับ ,จำคุก ,ยึดใบอนุญาตขับขี่,พักใช้หรือเพิกถอน (ใบอนุญาตขับขี่) ,ชดใช้ค่าเสียหาย (กรณีทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย )
หมายเหตุ คนเดินเท้าไม่เดินบนทางเท้า หรือไม่เดินข้างถนนตรงทางข้ามที่กำหนด หรือเดินข้ามถนน ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตร นับจากทางข้าม หรือเดินข้ามถนนโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
- ผลกระทบทางด้านสังคม เป็นที่เพ็งเล็งของบุคคลรอบข้างที่มองดูด้วยความขยะแขยงในพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นที่เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม 


http://www.tiida-club.net/smf/index.php?topic=4320.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น