 | ชนิดและวิธีการซื้อตั๋วโดยสาร
ตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ :
1. ตั๋วแบบเที่ยวเดียว (Single-Journey Ticket) ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางเพียงครั้งเดียว มูลค่าของตั๋วจะเท่ากับค่าโดยสารในแต่ละเที่ยวที่เดินทางสามารถซื้อได้จาก เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ 2. ตั๋วแบบสะสมมูลค่า (Stored-Value Ticket) ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางได้หลายครั้ง มูลค่าของตั๋วจะถูกหักไปเรื่อยๆ ตามค่าโดยสารที่เดินทางจนกว่ามูลค่าของตั๋วจะหมด
|
หากเดินทางบ่อยๆ หรือเป็นประจำ แนะนำให้ซื้อตั๋วสะสมมูลค่า เพราะสามารถใช้เดินทาง ได้หลายเที่ยวโดยตั๋วสะสมมูลค่าสามารถซื้อได้ในราคาขั้นต่ำ 230 บาท แยกเป็นค่ามัดจำบัตร 30 บาท และใช้เดินทาง 200 บาท เงินค่ามัดจำบัตรเมื่อเลิกใช้ สามารถขอคืนได้หรือจะใช้จนหมดมูลค่าก็ได้ บัตรมีอายุการใช้งาน 2 ปี เมื่อใช้จนเกือบหมดมูลค่าเงินก็สามารถเติมเงินได้ที่ห้องตั๋วโดยสารวิธีนี้จะทำให้การเดินทางสะดวกสบายไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเหรียญหรือแลกเหรียญ และหยอดเหรียญเพื่อซื้อจากเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ
http://www.bts.co.th/customer/th/01-ticket-type.aspx
วิธีการซื้อตั๋วโดยสาร
1. เตรียมเหรียญ 5 บาท หรือเหรียญ 10 บาท ให้เท่ากับจำนวนเงินที่จะต้องใช้เป็นค่าเดินทาง 2. ศึกษาแผนที่ที่จะเดินทางโดยดูได้จากแผนที่อัตราค่าโดยสารที่ติดอยู่กับเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ เช่น ขึ้นจากสถานีหมอชิต ต้องการจะเดินทางไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งก็คือโซน 4 3. จากนั้นมาที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ กดเลือกโซนสถานีที่หมายเลข 4 4. หยอดเหรียญที่ช่องหยอดเหรียญตามราคาที่ระบุไว้ 5. รับตั๋ว 6. หากหยอดเงินเกินจะได้รับเงินทอนที่ช่องทอนเงิน |
http://www.bts.co.th/customer/th/02-route-current.aspx
|
|
|
การเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
1. ถือตั๋วไว้ที่มือขวา สอดตั๋วเข้าไปที่ช่องสอดตั๋วที่ประตูทางเข้าอัตโนมัติ 2. รับตั๋วคืนแล้วเดินผ่านประตูทางเข้าอัตโนมัติ 3. ดูป้ายบอกทิศทางที่ต้องการจะเดินทางไป เพื่อขึ้นฝั่งชานชาลาให้ถูกต้อง 4. บนชานชาลาระหว่างยืนรอรถไฟฟ้า อย่ายืนล้ำเส้นสีเหลืองเพื่อความปลอดภัย 5. อย่ายืนขวางประตูทางเข้าออกรถไฟฟ้าระหว่างยืนรออยู่บนชานชาลา 6. เปิดทางให้ผู้โดยสารออกจากรถไฟฟ้าก่อน แล้วจึงเข้า 7. อย่ายืนขวางประตูทางเข้าออกภายในรถไฟฟ้า 8. หาที่นั่ง ยืนจับราวหรือห่วงภายในรถไฟฟ้า 9. สังเกตป้ายสถานี หรือฟังประกาศจากพนักงานขับรถไฟฟ้ากำลังจะถึงสถานีที่ต้องการจะไปแล้วหรือยัง 10. ออกจากรถไฟฟ้า เดินลงจากชั้นชานชาลา 11. สังเกตป้ายบอกทิศทางที่ต้องการจะออกจากระบบ |
|
 |
 |
การออกจากระบบรถไฟฟ้า
1. สอดตั๋วเข้าที่ประตูทางออก ในลักษณะเดียวกับขาเข้า 2. ตั๋วสะสมมูลค่า เมื่อสอดตั๋วเข้าไปที่ช่องเสียบตั๋วเรียบร้อยแล้ว ก่อนรับตั๋วคืน สังเกตช่องสี่เหลี่ยมบนประตูทางเข้าเพื่อดูยอดเงินคงเหลือ (สามารถตรวจสอบได้ที่ห้องตั๋วโดยสารได้เช่นกัน) 3. ตั๋วเที่ยวเดียว เมื่อสอดตั๋วเข้าไปแล้ว เดินออกประตูได้ทันที เครื่องจะเก็บตั๋วไม่คืนตั๋วให้ กรณีใช้ตั๋วสอดเข้าช่องสอดตั๋วที่ประตูทางเข้า - ออกอัตโนมัติ แล้วมีปัญหา ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ห้องตั๋วโดยสารทันที อย่าพยายามสอดตั๋วซ้ำเพราะอาจจะทำให้ ตั๋วมีปัญหาแล้วต้องเสียค่าปรับเพิ่มหรืออาจโดนหักมูลค่าตั๋วได้ |
| |
|
ระยะเวลาที่สามารถอยู่ในระบบรถไฟฟ้า
ตั๋วราคา 10 บาท จะอยู่ในระบบได้นาน 30 นาที ตั๋วราคา 15 บาท จะอยู่ในระบบได้นาน 60 นาที ตั๋วราคา 20บาท จะอยู่ในระบบได้นาน 60 นาที ตั๋วราคา 25 บาท ขึ้นไปจะอยู่ในระบบได้นาน 90 นาที อยู่เกินกว่าเวลาที่กำหนดเสียค่าปรับ 40 บาท
|  |
|
กรณีต่อไปนี้ต้องเสียค่าปรับ
1. ตั๋วหายหรือชำรุด เสียค่าปรับ 40 บาท 2. เดินทางเกินระยะทางที่ซื้อตั๋ว ต้องชำระส่วนต่าง 3. เข้าซ้ำ หรือออกซ้ำ ปรับ 40 บาท กรณีสอดตั๋วเข้าประตูทางเข้า / หรือทางออกมากกว่า 1 ครั้ง (ตั๋ว 1 ใบ ใช้กับ 1 คน สำหรับเดินทางเข้าระบบ และออกจากระบบเท่านั้น) |
| |
|
การผ่านประตูทางเข้า-ออกอัตโนมัติ
|  |
 |
การใช้ลิฟต์สำหรับคนพิการ
ผู้พิการกดกริ่งบริเวณลิฟท์ชั้นพื้นถนนติดต่อไปยังห้องควบคุมสถานี เพื่อแจ้งความต้องการผ่านอินเตอร์คอมกับพนักงาน นายสถานีจะส่งพนักงานเพื่อรับผู้พิการที่ชั้นพื้นถนน โดยนำผู้พิการมายังชั้นจำหน่ายตั๋วเพื่อซื้อบัตรโดยสาร กรณีผู้พิการของสมาคมคมพิการจะทำการลงรายละเอียดในสมุดคุม สำหรับผู้ติดตามจะต้องซื้อตั๋วสอดเข้า-ออกตามปกติ พนักงานจะทำการออกใบส่งตัวให้กับผู้พิการ (ทั้ง 2 ประเภทคือส่วนตัวและสังกัดสมาคม)ในการเดินทาง พนักงานนำส่งผู้พิการขึ้นรถไฟชั้นชานชาลา และมอบใบส่งตัว ให้กับพนักงานขับรถไฟฟ้า (กรณีผู้พิการใช้รถเข็นโดยสารได้ครั้งละ 2 คนต่อ 1 ขบวนโดยจะให้ขึ้นที่ตู้หน้าสุดของขบวนรถบริเวณด้านหลังคนขับ) เมื่อถึงสถานีปลายทางพนักงานขับรถไฟฟ้าจะทำการนำส่ง ผู้พิการแก่พนักงานสถานที่รับผิดชอบเพื่อนำส่งสู่ชั้นพื้นถนนต่อไป |
| |